สุรชัย จันทิมาธร

ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:12:47 ]







ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:13:57 ]







ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:14:16 ]







ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:14:36 ]







ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:14:55 ]







ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:19:41 ]








ชื่อหนังสือ : สมคิด สิงสง สุรชัย จันทิมาธร คนกับควาย และงานคัดสรร

ผู้เขียน : สมคิด สิงสง : สุรชัย จันทิมาธร

จัดพิมพ์ : มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14 ตุลา

ราคา : 110 บาท/180 หน้า


คนกับควายทำนาประสาคน คนกับควายทำนาประสาควาย
คนกับควายหมายมันลึกล้ำ ลึกล้ำทำนามาเนิ่นนาน
แข็งขันการงานมาเนิ่นนาน สำราญเรื่อยมาพอสุขใจ
ไปเถิดไปพวกเราไปเถิดไป ไปเถิดไปแบกไถไปทำนา
ยากจนหม่นหมองมานานนัก นานนักน้ำตามันตกใน

ยากแค้นลำเค็ญในหัวใจ ร้อนรุ่มเพียงใดไม่หวั่นเกรง
เป็นบทเพลงเสียงเพลงแห่งความตาย ความเป็นคนสลายลงไปพลัน
กระฎุมพีกินแรงแบ่งชนชั้น ชนชั้นชาวนาจึงต่ำลง

เหยียดหยามชาวนาว่าป่าดง สำคัญมั่นคงคือความตาย
เพลง : คนกับควาย


ทำนอง : Master of War ของ Bob Dylan
คำร้อง : สมคิด สิงสง ผู้ประพันธ์ร่วม สุรชัย จันทิมาธร และวิสา คัญทัพ

ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:21:23 ]







สียงเพลง “คนกับควาย” ยังคงดังก้องในหัวใจสำหรับนักฟังเพลงในแนวเพื่อชีวิต และถือเป็นบทเพลงประวัติศาสตร์ที่ปลุกเร้าการต่อสู้ของชนชั้นชาวนามาจนถึงปัจจุบัน บทเพลงดังกล่าวเป็นผลงานการประพันธ์ร่วมกันของนักเขียนในยุคแสวงหานามสมคิด สิงสง สุรชัย จันทิมาธร และ วิสา คัญทัพ และถือว่าเป็นตำนานอีกบทหนึ่งของวงดนตรีเพื่อชีวิตนาม “คาราวาน”


สุรชัย จันทิมาธร และสมาชิกวง "คาราวาน" ภาพจากนิตยสารโลกหนังสือ
สุรชัย จันทิมาธร และสมคิด สิงสง ต่างเป็นลูกอีสานโดยกำเนิดที่มุ่งหน้าเข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร โดยสมคิด สิงสง เกิดที่หมู่บ้านซับแดง อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เข้ามาเรียนชั้นมํธยมศึกษาที่โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ก่อนที่จะเข้าศึกษาที่คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมต่อสู้ทางการเมืองกับขบวนนิสิตนักศึกษาในยุค 14 ตุลาคม 2516 จากนั้นได้คืนสู่บ้านเกิดด้วยอุดมการณ์วัยหนุ่มร่วมกับเสียวฮักนามประเสริฐ จันดำ สร้างตำนานเคียวเกี่ยวดาวที่ซับแดงอันลือลั่น ก่อนที่จะหลบภัยการเมืองเข้าต่อสูในเขตป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันคืนสู่ภูมิลำเนาทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมงานด้านวรรณกรรม และสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กรเอกชนในภูมิภาค


ส่วนสุรชัย จันทิมาธร หรือ “หงา คาราวาน” เกิดที่อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ก่อนที่จะเข้ามาเรียนต่อด้านศิลปะที่กรุงเทพฯ ได้รู้จักกับนักเขียนในกลุ่มหนุ่มเหน้าสาวสวย พร้อมกับเริ่มเขียนงานกวี เรืองสั้น จนโด่งดังมาถึงปัจจุบันเมือก่อตั้งวงดนตรีเพื่อชีวิตนาม “ท.เสน และสัญจร” กับวีระศักดิ์ สุนทรศรี ภายหลังจึงได้ร่วมกับวง “บังคลาเทศแบนด์” ของมงคล อุทก และทองกราน ทานา เป็นวงดนตรี “คาราวาน” สร้างตำนาน “คนกับควาย” มาจนถึงปัจจุบัน

ล่าสุดคณะกรรมการ“ตุลาวรรณกรรม” จัดพิมพ์ผลงานคัดสรร “คนกับควาย ” ของสมคิด สิงสง และสุรชัย จันทิมาธร เพื่อสานต่อความคิด อุดมการณ์ ความใฝ่ฝันของคนเดือนตุลาคมที่มีความงาม ความจริงที่ซับซ้อน และหลากหลาย อันเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ทางการเมือง และสังคมสมัยใหม่ของเมืองไทยสู่ผู้อ่าน
คนกับควาย : สมคิด สิงสง : จากตำนานเพลงเพื่อชีวิตถึงวิถีชีวิตคนจน ๆ ในสังคมอีสาน
หนังสือ “คนกับควาย” แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกว่าด้วยงานเขียนบทกวี บทเพลง เรื่องสั้น และนวนิยายของสมคิด สิงสง ส่วนที่สองว่าด้วยตำนาน บทกวี และเรื่องสั้นของสุรชัย จันทิมาธร
สมคิด สิงสง นำเสนอบทเพลงที่ “คาราวาน” เคยบันทึกเสียงคือ “คนกับควาย” และ “ข้าวลาลาน” ซึ่งพูดถึงความทุกข์ยากของชาวนายุคใหม่ที่ขายไร่ นา วัว ควาย เพื่อซื้อรถโดยสารวิ่งรับจ้าง สุดท้ายถูกยึดรถคืน จนต้องหอบลูกเมียเข้ามาเผชิญโชคในเมืองกรุง
ด้านบทกวี “วันนี้” นำเสนอการต่อสู้ของประชาชนท่ามกลางการเข่นฆ่าจากอำนาจรัฐ รวมทั้ง “อภิวัตยุคใหม่” เขียนถึงสังคมในความฝันที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของรัฐ โยงมาถึง “ห่วงหาอาทร” กล่าวถึงหญิงสาวชาวบ้านที่เข้ามาทำงานเพื่อใช้แรงงานในเมืองหลวง ผลจากความแห้งแล้งในถิ่นเกิด ส่วน “ลำนำ ณ ท้องทุ่งเขียวขจี” ยังคงตอกย้ำความทุกข์ยากของชาวนาไทยที่ยังรอคอยความช่วยเหลือจากผู้ปกครองประเทศ



สมคิด สิงสง ในวัยหนุ่มที่หมู่บ้านซับแดง อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

ภาคเรื่องสั้น สมคิด สิงสง ได้นำเสนอวิถีชิวิตและสภาพปัญหาของชาวอีสาน ผ่านเรื่องสั้น 5 เรื่อง คือ มือตัดสิน, บ้านดงบัง, พรานดำ, ภูผาแปร, เรายังไม่ชนะดอกหรือพ่อ และผลงานบางส่วนจากนวนิยายเรื่อง “ข้าวเขียว”
“มือตัดสิน” นำเสนอเรื่องของการเลือกตั้งในท้องถิ่นที่ยังคงมีเรืองของการซื้อสิทธิ์ขายเสียง โดยเฉพาะบุคลากรของรัฐซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนชี้นำในการเลือกตั้ง แม้เพียงคะแนนเดียวก็สามารถชนะคู่แข่งได้ เช่นเดียวกับเรื่องสั้น “บ้านดงบัง” นำเสนอเรื่องของบ้านที่แทบไม่มีดงจะบัง แผ่นดินแห้งแล้ง ไร้ซึ่งที่จะทำมาหากิน เชื่อมโยงมาถึงเรื่อง “พรานดำ” นำเสนอเรื่องของการรุกรานที่ดินทำกินของนายทุนในท้องถิ่น การห้ามล่าสัตว์ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพรานป่าในท้องถิ่น จนทำให้ “พรานดำ” ต้องเสียชีวิตด้วยน้ำมือของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง


สมคิด สิงสง เมื่อครั้งกลับไปเยี่ยมหมู่บ้านซับแดง ภายหลังเดินทางออกจากป่า

เรื่องสั้น “เรายังไม่ชนะดอกหรือพ่อ?” เป็นความร่วมสมัยว่าด้วยการประท้วงของประชาชนในท้องถิ่นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ทั้งปัญหาเรื่องที่ทำกิน เงินกู้นอกระบบ สุดท้ายความพ่ายแพ้ยังคงอยู่คุ่กับประชาชนตาดำ ๆ ส่วนเรื่องสั้น “ภูผาแปร” นำเสนอสภาพผืนป่าทรัพยากรที่เคยอุดมสมบูรณ์ แต่กลับโล่งเตียนด้วยน้ำมือของคนในชุมชน ผ่านมุมมองของ “มดปลวก” ได้อย่างขบขันและบาดลึก การสร้างเขื่อนกักน้ำ โรงงานอุตสาหกรรม นำมาซึ่งการตัดไม้ทำลายป่า เหลือแต่ดงร้าง

งานเขียนของสมคิด สิงสง : ลาก่อนนาวังเหล็ก/ผู้รุกราน/คนบนมอ
ส่วนนวนิยาย “ข้าวเขียว” ได้ตัดทอนนวนิยายจากชื่อเรื่องเดียวกันผ่าน “บุญหนัก นากลาง” สะท้อนมุมมองของนักต่อสู้ระดับชาวบ้าน แต่ยังไม่มองเห็นสภาพปัญหาอย่างแท้จริง เพราะเป็นการตัดทอนเฉพาะบางส่วนของนวนิยาย
คนกับควาย : สุรชัย จันทิมาธร : จากตำนานเพลงเพื่อชีวิตสะท้อนวิถีชีวิตจากบ้านไพรถึงเมืองฟ้าอมร

สุรชัย จันทิมาธร ได้กล่าวถึงตำนานความเป็นมาของเพลง “คนกับควาย” ในส่วนที่สองของหนังสือว่าได้รับแรงบันดาลใจและทำนองเพลง จากการได้ฟังเพลง Master of War ของ Bob Dylan ที่บ้านของเสถียร จันทิมาธร จากนั้นจึงเริ่มฝึกหัดเล่นกีตาร์โดยมีมโนภาษ เนาวรังษี เป็นผู้ฝึกสอนให้

เพลง “คนกับควาย“ แสดงครั้งแรกในงานแต่งงานของวีระประวัติ วงศ์พัวพัน เพื่อนพ้องในกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว โดยสุรชัย จันทิมาธร นั่งดีดกีตาร์อยู่ตรงกลาง มีสมคิด สิงสง และวิสา คัญทัพร้องเพลงขนาบข้าง ภายหลังได้ไปแสดงในงานมหกรรมเพลงเพื่อชีวิตที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับวีระศักดิ์ สุนทรศรี ในนามวง “ท. เสน และ สัญจร” จึงเป็นที่รู้จักในหมู่นักฟังเพลงเพื่อชีวิตในเวลาต่อมา


จากวง "ท.เสน และสัญจร" ร่วมกับวง "บังคลาเทศแบนด์" รวมกันเป็นวง "คาราวาน"

ภายหลังจากวง “ท.เสน และสัญจร” จึงได้รวมกับวง “บังคลาเทศน์แบนด์” ของ มงคล อุทก และ ทองกราน ทานา จัดตั้งเป็นวง “คาราวาน” ทำให้เพลง “คนกับควาย” ได้รับการเผยแพร่มากยิ่งขึ้น ทั้งการเดินสายแสดงในต่างจังหวัดและในการแสดงในที่ชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพฯ
เพลง “คนกับควาย” บันทึกเสียงครังแรกเป็นแผ่นเสียงซิงเกิ้ล 4 เพลง คนกับควาย เปิบข้าว นกสีเหลือง และจิตร ภูมิศักดิ์ มีธรรมศักดิ์ บุญเชิด เป็นผู้ออกแบบปกแผ่นเสียง จัดทำขึนจำนวน 500 แผ่น ราคา 25 บาท เพื่อวางจำหน่ายในระหว่างที่วงดนตรีคาราวานไปแสดงในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ


ปกแผ่นเสียง "คาราวาน" ชุดแรกออกแบบปกโดยธรรมศักดิ์ บุญเชิด



ปกแผ่นเสียง "คาราวาน" ในยุคต่อมา

ถัดจากตำนานเพลงคนกับควาย สุรชัย จันทิมาธร ได้นำเสนอบทกวีไว้ 1 บท คือ “บันทึกผู้ผ่านทาง” ซึ่งจัดพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ “จารึกบนหนังสือ” ร่วมกับประเสริฐ จันดำ ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้คือ
หนึ่ง : ภาพนิ่ง นำเสนอความแห้งแล้งของชนบทอีสาน ห้วงเวลาที่คนหนุ่มสาวหนีเข้าทำงานในเมืองกรุง เหลือเพียงเด็กและคนแก่เฝ้าหมู่บ้าน
สอง : สู่เส้นทาง นำเสนอเส้นทางการต่อสู้ การปลุกเร้า สร้างกำลังใจของหมู่บ้านชนบทต่ออำนาจที่ไมชอบธรรมในสังคม สลับบทเพลงของคาราวาน เช่น คนกับควาย , หยุดก่อน, ข้าวคอยฝน, จิตร ภูมิศักดิ์

สาม : อยู่เรียงเคียงข้างกันไป ปลุกเร้าการต่อสู้ในกระแสแห่งการปฏิวัติมวลชน เพื่อได้พบโลกใหม่อันสดใส ผ่านการบอกกล่าวถึงผู้เฒ่า ลูกชาย และลูกสาวของบ้านทุ่ง ร่วมต่อสู้เพื่อให้ได้ชัยชนะกลับคืนมา

สี่ : ภาพนิ่ง กลอนเปล่ากล่าวถึงดินแดนอีสานฟ้าสีแห้งดินสีโหย ผ่านบทเพลง “กุลา” ของมงคล อุทก

ส่วนเรื่องสั้นคัดสรรจำนาน 9 เรื่อง ของสุรชัย จันทิมาธร ยังคงมีรูปแบบงานเขียนเฉพาะตัว บอกกล่าวถึงวิถีชีวิตคนอีสานทั้งในชนบทและในเมืองหลากหลายแง่มุมและวิถีชีวิตดูหดหู่และเหงาเศร้ายิ่งนัก ในลักษณะไม่เน้นโครงเรื่อง ผ่านการดำเนินเรื่องอย่างเรียบง่ายเหมือนสายน้ำที่ไหลเอื่อยไปสู่วังวนแห่งห้วงลึก ให้แง่คิดกลับไปขบคิดในตอนจบ
เรื่องสั้น “แล้งเข็ญ” ยังคงมีกลิ่นอายของเรื่องสั้น “เขียดขาคำ” ของลาว คำหอม อยู่บ้าง แต่จบด้วยความสุข ว่าด้วยครอบครัวของ “ผาก” และ “เจ้าต่วน” ลูกชายออกหาอาหารในท้องทุ่งเพื่อเลี้ยงครอบครัว และ “กบ” เพียงตัวเดียวและความหิวเกือบจะเกิดฆาตกรรมในครอบครัว แต่อย่างไรก็ตามความหิวก็พ่ายแพ้ต่อความเป็นสายเลือด
“วันรับเงินเดือน” ของครูบ้านนอก ค่าใช้จ่ายหมดกับการหักบัญชีหนี้สินรายทางก่อนที่จะเหลือกลับถึงบ้านเพียงเหรียญบาทสองเหรียญกระทบกันในกระเป๋ากางเกงพอให้ฟังได้ชืนใจ



งานเขียนของสุรชัย จันทิมาธร ในยุคเริ่มแรกที่นำมาจัดพิมพ์ใหม่

“บุพการี” การครุ่นคิดของผู้เป็นแม่กับชีวิตนักพนันไก่ชนของลูกชายในห้วงสุดท้ายของชีวิต มิแตกต่างไปจากชีวิตของสัตว์ที่พวกเขานำไปทรมานในสังเวียนการต่อสู้ ส่วนเรื่อง “งานศพ” เป็นมุมมองของผู้เขียนต่อวิถีชีวิตงานศพในชนบท ส่วนเรื่อง“ฤดูดอกไม้โรย” กล่าวถึงผู้หญิงชนบทที่ไปเป็นเมียเช่าทหารต่างชาติในยุคจีไอครองเมือง คำว่า “บ้าน” ดูไร้เสน่ห์ และไม่มีชีวิตชีวา ขาดการต้อนรับอย่างจริงใจจากเพื่อนบ้าน หล่อนกลับบ้านเกิดเป็นเพื่อ “แม่” ที่ยังรอคอยอย่างเดี่ยวดาย เหล่านี้เป็นเรื่องสั้นทีสุรชัย จันทิมาธร เขียนขึ้นในยุคเริ่มต้นเข้าสู่วงการนักเขียน ผ่านมุมมองและประสบการณ์จากการใช้ชีวิตในชนบท


งานเขียนของสุรชัย จันทิมาธร ในยุคต่อมา

นอกจากนั้นยังมีเรื่องสั้นที่สุรชัย จันทิมาธร สะท้อนการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ผ่านเรื่องสั้น “ความหวัง” นำเสนอชีวิตวัยเยาว์ก่อนที่จะมาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ก่อนที่จบเรื่องลงในขณะที่กำลังนั่งเขียนเรื่องสั้นเพื่อส่งไปตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ คือ “ความหวัง” สำหรับค่าเรื่องเพื่อนำมาเลี้ยงชีพต่อไป ส่วนเรื่องสั้น “ฤดูดอกไม้โรย” นำเสนอเรื่องราวชีวิตของ “เสน” ผ่านจดหมายที่เขาเขียนถึงหญิงคนรัก บอกกล่าวถึงเรื่องราวของชีวิตนักเรียนช่างศิลป์ แวดวงศิลปะ และวงการกวี ที่ผู้เขียนได้ประสบและผ่านพบมาในห้วงหนึ่งของชีวิต
แม้ว่า “กรุงเทพฯ” คือเมืองฟ้าอมร แต่สำหรับ “บดินทร์” และ “พิม” จากเรื่องสั้น “สองคม" กรุงเทพฯ คือเมืองที่ต้องต่อสู้และดิ้นรนให้มีชีวิตอยู่รอดในคืนเปลี่ยว บ้างครั้งทั้งสองถึงขั้นจะลงมือกระทำผิด แต่ก็ผ่านวิกฤตชีวิตจุดนั้นไปได้ มิแตกต่างกับชีวิตของ “ชมเชย ชอบธรรม” ช่างเรียงในโรงพิมพ์เสรี ที่ถูกยืนซองขาวให้ออกจากงาน เมื่อได้รับเงินเดือนงวดสุดท้ายในใจเขาก็นึกถึงหญิงสาวในโรงนวดที่เป็นขาประจำพร้อมกับความสุขชั่วคืน วันข้างหน้าจะมีชีวิตเป็นเช่นไรเป็นแง่มุมที่ให้ผู้อ่านได้ไปขบคิด


งานเขียนอีกชุดของสุรชัย จันทิมาธร

เมื่ออ่านได้งานคัดสรรของสหายนักเขียนแห่งที่ราบสูงนาม “สมคิด สิงสง” และ “สุรชัย จันทิมาธร” แล้วยังคงบาดลึกและกินใจกับเรื่องราวที่กลั่นออกมาเป็นบทเพลง บทกวี และเรื่องสั้นผ่านตำนาน “คนกับควาย” และยังคงตอกย้ำความเป็นตัวตนของนักต่อสู้ทางสังคม นักคิด นักเขียน ทั้งสองคน และสำหรับคอวรรณกรรมที่ต้องการรำลึกถึงวรรณกรรมในยุคแสวงหา งานคัดสรรเล่มนี้คงไม่ทำให้ท่านผิดหวังแน่นอน
ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:24:40 ]








ต้าร์
[ 27-03-2011 - 00:25:50 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:26:15 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:30:21 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:31:00 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:32:43 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:41:00 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:46:07 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:49:32 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:50:26 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:51:20 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:52:10 ]







ต้าร์
[ 28-03-2011 - 17:52:53 ]







ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้

เว็บนี้มีการใช้งาน cookie
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ